
ประวัติความเป็นมาของการเต้นบัลเล่ต์
บัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นแขนงหนึ่ง ที่มีจุดกำเนิด ณ ประเทศอิตาลี ในยุคเรเนสซองส์ หรือยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
ศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ในยุคแรกเริ่ม ถือว่าเป็นกิจกรรมทางสังคมของราชสนักอิตาลีที่มักนิยมจัดการแสดงโดยเหล่าขุนนางชายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสาเหตุหนึ่งคือลักษณะการแต่งต่างของเหล่าขุนนางชายที่มีความกระชับและง่ายต่อการเคลื่อนไหวมากกว่าเหล่าขุนนางฝ่ายหญิง ที่สวมกระโปรงสุ่มขนาดใหญ่
ในเวลาต่อมาพระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิชี ได้นำศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ เข้าไปเผยแพร่สู่ราชสำนักฝรั่งเศส ภายหลังการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส
บัลเล่ต์จึงได้รับความนิยมแพร่หลายเรื่อยมา ในประเทศฝรั่งเศสจนถึงยุคพระเจ้าหลุยที่14 แห่งประเทศฝรั่งเศส พระองค์ทรงสนับสนุนศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ จนได้รับความรุ่งเรืองสูงสุด มีการเปิดโรงเรียนสอนเต้นบัลเล่ต์ แห่งแรกของโลก โดยมีชื่อว่า Academie Royale De La Dance หรือ สถาบันปารีส โอเปร่า ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของตำแหน่งทั้ง5 ของเท้า (5 Position of the feet)
ในปี ค.ศ.1830 บัลเล่ต์ได้ถูกต่อต้านในประเทศฝรั่งเศส แต่กลับได้รับความนิยม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในประเทศเดนมาร์ก อิตาลี และรัสเซีย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 คณะบัลเล่ต์รูส (Ballets Russesled) นำโดย Sergei Diaghilev ได้เดินทางเข้าไปแสดงในยุโรป ซึ่งทำให้บัลเล่ต์ได้กลับมามีความนิยมขึ้นอีกครั้ง และเป็นการเริ่มต้นบัลเล่ต์ยุคสมัยใหม่ และทำให้การเต้นบัลเล่ต์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
Ballet originated in the Italian Renaissance courts of the fifteenth and sixteenth centuries.
Under Catherine de' Medici's influence as Queen, it spread to France, where it developed even further. The dancers in these early court ballets were mostly noble amateurs. Ornamented costumes were meant to impress viewers, but they restricted performers' freedom of movement.
The ballets were performed in large chambers with viewers on three sides. The implementation of the proscenium arch from 1618 on distanced performers from audience members, who could then better view and appreciate the technical feats of the professional dancers in the productions.
French court ballet reached its height under the reign of King Louis XIV. Louis founded the Academie Royale de Danse (Royal Dance Academy) in 1661 to establish standards and certify dance instructors. In 1672, Louis XIV made Jean-Beptiste Lully. The director of the Académie Royale de Musique (Paris Opera) from which the first professional ballet company, the Paris Opera Ballet, arose. Pierre Beauchamp served as Lully's ballet-master. Together their partnership would drastically influence the development of ballet, as evidenced by the credit given to them for the creation of the five major positions of the feet. By 1681, the first "ballerinas" took the stage following years of training at the Académie.
Ballet started to decline in France after 1830, but it continued to develop in Denmark, Italy, and Russia. The arrival in Europe of the Ballets Russesled by Sergei Diaghilev on the eve of the First World War revived interest in the ballet and started the modern era.
In the twentieth century, ballet had a wide influence on other dance genres. Also in the twentieth century, ballet took a turn dividing it from classical ballet to the introduction of modern dance, leading to modernist movements in several countries
Ballet Style

Classical Ballet

Romantic Ballet

Neoclassic Ballet
Contemporary Ballet
Modern Ballet

ประโยชน์ของการเต้นบัลเล่ต์
Dance is the hidden language of the soul. - Martha Graham.
• เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออกและเป็นการเรียนรู้การเข้าสังคม ผ่านการร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน
• เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี การเรียนบัลเล่ต์จะช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายครบทุกส่วน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรง การไหลเวียนของโลหิตที่ดี อีกทั้งยังเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้กับร่างกายอีกด้วย
• เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี เพราะการเรียนบัลเล่ต์มีพื้นฐานของท่าทางต่างๆ ที่สง่างาม ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจการความคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น และสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย
• เพื่อพัฒนาสมาธิและเสริมสร้างสติปัญญา เพราะการเรียนบัลเล่ต์ไม่ใช่เพียงแต่จะเคลื่อนไหวร่างกายให้สัมพันธ์กับจังหวะเพลงเท่านั้น แต่ผู้เต้นจะต้องจดจำท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย ควบคุมการใช้กล้ามเนื้อที่ถูกวิธีเพื่อให้สัมพันธ์กับจังหวะของดนตรี ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นการกระตุ้นให้สมองได้ใช้งานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
• เพื่อเสริมสร้างความมีระเบียบวินัย เนื่องจากการเรียนบัลเล่ต์เป็นการเรียนรวมกันกับผู้อื่น ดังนั้นในห้องเรียนผู้เรียนจะต้องมีระเบียบวินัยในตนเอง อีกทั้งการเข้าเรียนบัลเล่ต์อย่างต่อเนื่อง เป็นการส่งเสริมและพัฒนาการเต้นให้ดียิ่งขึ้นดี ดังนั้นผู้เรียนจะต้องมีระเบียบวินัยในการเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อให้สามารถแสดงออกมาได้ดียิ่งขึ้นผู้เรียนยังต้องฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
• ช่วยลดความเครียด เพราะโดยธรรมชาติของคนเราเวลาที่ได้ออกกำลังกายร่างกายจะช่วยสลายความเครียดได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อีกทั้งเพลงที่ใช้ในการเต้นบัลเล่ต์มักเป็นเพลงที่มีความไพเราะและผ่อนคลาย องค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้เราได้ผ่อนคลายความเครียดได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
• สามารถต่อยอดไปสู้การเต้นประเภทอื่นๆ ได้ เนื่องจากการเต้นบัลเล่ต์เป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญในการเต้นทุกประเภท เพราะมีการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การความคุมการย้ายน้ำหนักของร่างกาย การฟังจังหวะเพลงี่มีความลเอียดอ่อน เป็นต้น
• สามารถต่อยอดเพื่อเป็นการประกอบอาชีพได้ เมื่อฝึกฝนจนชำนาญแล้ว ผู้เรียนสามารถต่อยอดเป็นนักเต้น หรือครูผู้สอนบัลเล่ต์ได้อีกด้วย